ระบบจัดการน้ำในสวนลำไยแสนไชย

คุณนิโรจน์ แสนไชย เจ้าของ “สวนแสนไชย” ผู้อยู่ในวงการลำไยมาอย่างยาวนาน ทั้งลองผิดลองถูก จนสวนแห่งนี้กลายเป็นศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร โดยสวนแห่งนี้ตั้งอยู่ที่จังหวัดลำพูน มีพื้นที่ปลูกลำไยกว่า 86 ไร่ ภายในสวนได้ปลูกลำไยแบบต้นเตี้ยระยะชิด ขนาด 6X6 เมตร และปลูกลำไยพันธุ์ “อีดอ” ทั้งหมด จำนวน 3,200  ต้น มีการวางระบบการให้น้ำแบบอัตโนมัติครอบคลุมทั้งพื้นที่ทำให้ลดจำนวนแรงงาน ประหยัดเวลา และประหยัดค่าใช้จ่าย

สภาพพื้นที่ของสวนแสนไชย เป็นที่ราบลุ่มริมน้ำปิง มีลักษณะดินเป็นดินร่วนปนทราย ระบายน้ำได้ดี เป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ มีธาตุอาหารครบ โดยแหล่งน้ำมี 2 ส่วนคือ พื้นที่สวนติดกับแม่น้ำปิงและมีการขุดบ่อบาดาลน้ำตื้นไว้ใช้ในสวนอีกด้วย

ซึ่งในอดีตการให้น้ำของสวนแสนไชย ใช้วิธีการสูบน้ำปิงเข้ามาในสวนแล้วให้คนงานใช้สายยางฉีดน้ำพ่นแบบราดบนพื้นดิน ต่อมาเปลี่ยนวิธีการให้น้ำเป็นการสูบน้ำปิงขึ้นมาที่แท้งค์ แล้วมามาน้ำเปิดตามท่อ แต่ก็ยังเสียเวลา ยังใช้แรงงานมาก และเปลืองน้ำ จึงได้เปลี่ยนมาให้น้ำแบบสปริงเกอร์และมินิสปริงเกอร์ ซึ่งมีประสิทธิภาพในการให้น้ำดีและประหยัดน้ำมากขึ้น แต่ก็ยังต้องใช้แรงงานคนในการเปิดปิดประตูน้ำ กว่า 100 ตัว ทั่วทั้งสวนอยู่ จึงอยากลดการใช้แรงงาน โดยการนําเครื่อง Timer เข้ามาใช้ในระบบการให้น้ำ

คุณนิโรจน์ ได้ไว้วางแผนการจัดการน้ำในสวนลำไยแยกโซน ออกเป็น 5 โซนด้วยกัน โดยกําหนดเวลาบน Timer และเมื่อถึงเวลา Timer ที่เชื่อมต่อกับ เริ่มจากใช้ปั๊มหอยโขง ขนาด 4 นิ้ว 4 แรงม้า ทั้งหมด 3 ตัว จะทําการสูบน้ำจากแม่น้ำปิงต่อกับท่อเมนจํานวน 4 ท่อ ขนาด 4 นิ้ว มี 4 ประตูน้ำ ซึ่งแต่ละท่อเมนหลักจะมีท่อย่อยขนาน 2-3 นิ้ว เชื่อมต่ออีก 10-20 ท่อ เมื่อน้ำผ่านประตูน้ำแล้วจะถูกส่งไปยังท่อย่อย 

ซึ่งแต่ละท่อย่อยจะเชื่อมต่อกับมินิสปริงเกอร์บริเวณทรงพุ่ม จะให้น้ำลำไยแต่ละต้นประมาณ 150 ลิตร/วัน/ต้น ซึ่งทั้ง 86ไร่ จะใช้เวลาการให้น้ำประมาณ 1-2 ชั่วโมง แล้วแต่ความต้องการน้ำในแต่ละโซน ซึ่งลดจํานวนแรงงานลงและประหยัดเวลาในการทำงาน ส่วนในอนาคตกำลังจะติดตั้งแผงโซลาเซลล์ขนาด 8 นิ้ว เพื่อลดการใช้ไฟฟ้าลง ลดต้นทุนการผลิตและประหยัดค่าใช้จ่าย ฃ

แบบการวางแผนระบบน้ำในสวนลำไย

สุดท้ายคุณนิโรจน์ กล่าวว่า “ความสำเร็จของสวนแสนไชย คือ การที่เราต้องอยากได้สิ่งที่ดีกว่า อย่าไปคิดว่าสิ่งที่ตัวเองมีมันดีแล้ว เพราะทุกสิ่งทุกอย่างมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ต้องมีสิ่งที่ดีกว่าเสมอ เราต้องปรับตัว พร้อมที่จะเรียนรู้ และนำมาปรับใช้ในสวนลำไยของตัวเอง”  

บทความที่เกี่ยวข้อง

ถึงแม้ว่าเราจะดูแลมะเขือเทศเป็นอย่างดี แต่มีสิ่งหนึ่งที่เราไม่สามารถควบคุมได้คือ สภาพอากาศในวันที่สภาพอากาศอากาศเย็น มีหมอกในยามเช้า มีความชื้นสูง เป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการเกิดโรคพืชในโรงเรือน และโรคพืชที่เราต้องเตรียมรับมือ คือ โรคใบไหม้ในมะเขือเทศ เป็นโรคที่ระบาดแพร่หลาย และรู้จักกันดีโรคหนึ่ง
การให้นํ้าแบบหยด (Drip or Trickle Irrigation) การให้นํ้าแบบหยด นับเป็นวิธีการให้นํ้าที่คิดค้นขึ้นมาหลังการให้นํ้าแบบอื่นๆ และกําลังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน ทั้งในเขตแห้งแล้งและเขตที่มีลักษณะดินเป็นดินทราย เพราะระบบการให้นํ้าแบบนี้มีการสูญเสียนํ้าน้อยมาก วิธีการให้นํ้าแบบหยดเป็นการให้นํ้าแก่พืชเป็นจุดๆ
เราจะพาทุกคนร่วมเดินทางไปเรียนรู้การทำเกษตรแบบอินทรีย์ ณ ไร่รื่นรมย์ ตำบลงิ้ว อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย พื้นที่ที่โอบล้อมด้วยขุนเขา มีการทำเกษตรอินทรีย์ทั่วพื้นที่ และเรียนรู้ที่จะอยู่กับชุมชนด้วยความเข้าใจ เติบโตไปกับชุมชน ผ่านการออกแบบพื้นที่ พัฒนาและต่อยอดสินค้าเกษตรต่างๆ มากมาย หัวใจของการทำเกษตร