การจัดการสวนปาล์มน้ำมัน

1. การเลือกพื้นที่

  • ควรมีชั้นหน้าดินหรือความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงสูง
  • ควรเป็นดินร่วน ดินร่วนปนเหนียว ดินร่วนเหนียวปนทราย หรือดินร่วนเหนียวปนทรายแป้งและไม่มีชั้นดินดาน
  • ดินระบายน้ำได้ดีถึงปานกลางความเป็นกรดด่างที่เหมาะสมคือ 4.2 – 5.5
  • ในพื้นที่ลาดชันควรปลูกแบบขั้นบันไดและมีพืชคลุมระหว่างแถวเพื่อลดการพังทลายของดิน
  • ปริมาณน้ำฝนที่เหมาะสม 1,700 – 2,500 มิลลิเมตรต่อปีทิ้งช่วงไม่เกิน 2-3 เดือน หากทิ้งช่วงนานควรมีแหล่งน้ำสำหรับให้ปาล์มน้ำมันในช่วงแล้ง

 2.  การเตรียมพื้นที่

  • พื้นที่ที่มีข้อจำกัดเช่น ดินทราย ดินเค็ม ดินในที่ลุ่มต่ำน้ำท่วมขังนานๆต้องมีการจัดการที่เหมาะสมเช่น ที่ดินลุ่มต่ำต้องทำร่องระบายน้ำ
  • หากเป็นการปลูกแทนปาล์มน้ำมันเดิม ต้องมีการจัดการโค่นล้มต้นปาล์มน้ำมัน
  • ต้องมีการตัดแบ่งถนนในแปลงอย่างเหมาะสมเพื่อขนส่งผลผลิตและลดการเหยียบย่ำดิน
  • ประสิทธิภาพในการใช้แสงเต็มพื้นที่
  • ในช่วงแรกของการปลูกปาล์มน้ำมัน 1-3 ปี ควรมีการปลูกพืชคลุมดินหรือพืชแซมที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินและเป็นการใช้ประโยชน์จากพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ

3.  การปลูกและการดูแลรักษา

ในช่วงแรกของการปลูกปาล์มน้ำมัน 1-3 ปี ควรมีการปลูกพืชคลุมดินหรือพืชแซมที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินและเป็นการใช้ประโยชน์จากพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ

  • เตรียมหลุมปลูกขุดหลุมให้มีขนาดใหญ่กว่าถุงต้นกล้าเล็กน้อยรูปตัวยูหรือทรงกระบอกควรแยกดินชั้นบน-ล่าง ออกจากกัน รองก้นหลุมด้วยหินฟอสเฟต 0-3-0 อัตรา 250 ถึง 500 กรัมต่อหลุม
  • ควรใช้ต้นกล้าที่มีอายุ 8 เดือนขึ้นไปซึ่งมีลักษณะต้นสมบูรณ์แข็งแรงไม่แสดงอาการผิดปกติและมีใบรูปขนนกจำนวนอย่างน้อย 2 ใบ
  • เวลาปลูกควรปลูกในช่วงฤดูฝนไม่ควรปลูกช่วงปลายฝนต่อเนื่องฤดูแล้งหรือหลังจากปลูกแล้วจะต้องมีฝนตกอีกอย่างน้อยประมาณ 3 เดือนจึงเข้าฤดูแล้ง  ข้อควรระวังหลัง จากปลูกไม่ควรเกิน 10 วันจะต้องมีฝนตก 

วิธีการปลูกถอดถุงพลาสติกออกจากต้นกล้าปาล์มน้ำมันอย่าให้ก้อนดินแตกจะทำให้ต้นกล้าชะงักการเจริญเติบโตของต้นกล้าลงในหลุมปลูกใส่ดินชั้นบนลงก้นหลุมแล้วจึงใส่ดินชั้นล่างตามลงไปและจัดต้นกล้าให้ตั้งตรงแล้วจึงอัดดินให้แน่นเมื่อปลูกเสร็จแล้วโคนต้นกล้าจะต้องอยู่ในระดับเดียวกับระดับดินเดิมของแปลงปลูก

1. ตอนปลูกควรใช้ตาข่ายหุ้มรอบโคนเพื่อป้องกันหนูหลังจากปลูกเตรียมป้องกันหนูโดยวิธีผสมผสานหากสำรวจแล้วพบว่ามีหนูเข้าทำลายควรวางเหยื่อพิษและกรงดัก  

2. หลังปลูกถ้าพบด้วงกุหลาบเริ่มทำลายไปเป็นรูพรุนให้ฉีดคาร์บาริลหรือคาร์โบซัลแฟน   อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่นทุก 7-10 วัน

3. ด้วงแรดเป็นศัตรูปาล์มน้ำมัน ใช้คอไพริฟอส  อัตรา 80 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่นยอดอ่อนและโคนทางใบให้ชุ่มเดือนละครั้ง ไม่ควรวางกองซากพืชและมูลสัตว์ในสวนปาล์มเพราะเป็นแหล่งขยายพันธุ์ด้วงแรด

กำจัดวัชพืชรอบโคนต้นในช่วงอายุ 1-3 ปีตามระยะเวลาเช่นก่อนการใส่ปุ๋ยถ้าใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชระวังอย่าให้สัมผัสต้นปาล์มน้ำมัน

4. การจัดการธาตุอาหาร

  1. ใส่ปุ๋ยเคมีตามตารางด้านล่าง (ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ทั่วไป) ควบคู่กับการสังเกตอาการขาดธาตุอาหารหรือเก็บตัวอย่างดินและใบส่งวิเคราะห์เพื่อปรับปริมาณธาตุอาหารตามความเหมาะสม
  2. ตำแหน่งการใส่ปุ๋ยที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพต้องใส่ในตำแหน่งที่มีรากฝอย (รากที่ 3 – 4) ปริมาณมากซึ่งรากดังกล่าวสามารถดูดธาตุอาหารได้ดี
  3. ควรบำรุงดินเพิ่มอินทรีย์วัตถุเพิ่มปริมาณธาตุอาหารรักษาความชื้นในดินและลดการพังทลายของหน้าดินด้วยการใส่ทะลายเปล่าอัตรา 150-400 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี (ตามอายุปาล์มน้ำมัน) หรือปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยพืชสด 

5. การตัดแต่งทางใบ

พื้นที่ใบเป็นแหล่งสำคัญในการสังเคราะห์แสงพื้นที่ใบที่มากแสดงว่าสังเคราะห์แสงได้มากและช่วยให้มีการเจริญเติบโตที่ดีและให้ผลผลิตสูงดังนั้นหากใบปาล์มน้ำมันยังมีสภาพสวยและมีสีเขียวแสดงว่าใบปาล์มยังคงทำงานได้ดี ไม่ควรตัดทิ้งแต่เมื่อปาล์มน้ำมันอายุเพิ่มขึ้น และไม่สามารถเก็บเกี่ยวทะลายได้ก็จำเป็นต้องตัดและควรมีการตัดแต่งทางใบที่แห้งหรือหมดสภาพในการสังเคราะห์แสงสำหรับบำรุงดินต่อไป

 6. การให้น้ำ

ในพื้นที่ที่ช่วงแล้งนานกว่า 3 เดือน หากมีแหล่งน้ำเกษตรกรควรให้น้ำ 3-5 ลิตร/พื้นที่ทรงพุ่ม 1 ตารางเมตร (ปริมาณน้ำที่ให้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับพื้นที่ทรงพุ่มปาล์มน้ำมัน) เพื่อให้ปาล์มน้ำมันให้ผลผลิตได้อย่างเต็มที่ตามศักยภาพ และระบบน้ำที่เหมาะสมคือ มินิสปริงเกอร์ ซึ่งมีการกระจายน้ำอย่างทั่วถึงและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการสังเคราะห์แสงได้ดีกว่าระบบอื่นๆ

7.  การเก็บเกี่ยว

  • รอบการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม 15 วันต่อครั้งแต่ในช่วงที่ผลผลิตมากควรเก็บเกี่ยว 10 วันต่อครั้ง รอบการเก็บเกี่ยวที่นานเกินไปจะมีผลทำให้เก็บเกี่ยวปาล์มน้ำมันดิบ เนื่องจากเกรงว่าถ้าปล่อยไว้รอบถัดไปอาจร่วงมากเกินไป

ควรเก็บเกี่ยวเฉพาะทะลายที่มีผลร่วง 1 ผลขึ้นไป  เมื่อทลายหล่นบนพื้นจะมีผลร่วงเพิ่มขึ้นและ หากล่วง 10 ผลขึ้นไปถือว่าเป็นทะลายสุก(ทลายกึ่งสุกร่วง 1-9 ผล) แต่หากรอบการเก็บเกี่ยวน้อยกว่า 15 วัน สีผิวด้านนอกควรเปลี่ยนสี 100% 

  • ·  แกนทะลายปาล์มน้ำมันไม่ควรเกิน 1 นิ้วลดการสูญเสียเปอร์เซ็นต์น้ำมันในกระบวนการสกัดน้ำมัน

8.  การเลือกซื้อพันธุ์ปาล์มน้ำมัน

  • เลือกคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตรปัจจุบันมี 9 สายพันธุ์คือพันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมสุราษฎร์ธานี 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8 และ 9
  • เลือกลูกผสมเทเนอรา ( ดูรา x พิสิเฟอรา) จากแปลงเพาะชำที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมวิชาการเกษตร ตรวจรายชื่อแปลงเพาะชำจาก  www.doa.go.th หรือสอบถามจากหน่วยงานสังกัดกรมวิชาการเกษตร

9.  แหล่งที่มาของพันธุ์ปาล์มน้ำมันที่มีจำหน่ายในประเทศไทย

  • ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานี
  • นำเข้าจากต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศคอสตาริกา เบนิน ปาปัวนิวกินี และเพิ่มประเทศมาเลเซียในปี พ.ศ. 2558
  • ผลิตโดยบริษัทเอกชนของประเทศไทย ขณะนี้มี 6 บริษัท ได้แก่ บริษัทยูนิวานิชน้ำมันปาล์ม จำกัด มหาชน จ.กระบี่ , มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา  ,หจก.โกลเด้นเทเนอรา จ.กระบี่, บริษัท เปา-รงค์  ออยปาล์ม  จำกัด จ.นครศรีธรรมราช ,บริษัท ซีพีไออะโกรเทค จำกัด ชุมพร และบริษัทสยามเอลิท จำกัด กระบี่

 10. การบันทึกข้อมูล

บันทึกข้อมูลผลผลิต การใส่ปุ๋ย และวัสดุการเกษตร การป้องกันกำจัดศัตรูพืช และรายรับ – รายจ่าย ฯลฯ  เพื่อประกอบการจัดการสวนให้มีประสิทธิภาพ

บทความที่เกี่ยวข้อง

การระบาดของแมลงศัตรูอ้อยในช่วงเดือนต่างๆ ได้แก่ หนอนกอลายจุดเล็ก หนอนกอลายจุดใหญ่ หนอนกอลายใหญ่ หนอนกอลายแถบแดง หนอนกอสีชมพู หนอนกอสีขาว แมลงหวี่ขาวอ้อย เพลี้ยกระโดดอ้อย เพลี้ยจักจั่นสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่นงวง เพลี้ยกระโดดดำ เพลี้ยหอยอ้อย เพลี้ยอ่อนสำลี เพลี้ยแป้งสีชมพู มวนอ้อย ไรแมงมุมอ้อย ด้วงหนวดยาวอ้อย แมลงนูนหลวง ปลวกอ้อย แมลงค่อมทอง ด้วงขี้ควาย ด้วงดำ ด้วงงวงอ้อย ตั๊กแตนไฮโรไกรฟัส ตั๊กแตนโลกัสต้า ตั๊กแตนปาทังก้า และหนอนบุ้ง
ตัวเบียนเป็นสิ่งมีชีวิตที่เบียดเบียนด้านบนหรือด้านในตัวศัตรูอ้อยเพื่อการเจริญเติบโต หรือดำรงอยู่จนครบวงจรชีวิต ทำให้เหยื่ออ่อนแอและตายในที่สุด
การบริหารจัดไร่อ้อยด้วยเครื่องจักรลการเกษตร เป็นอีกหนึ่งแนวทางสำคัญที่สยามคูโบต้าได้ส่งเสริมเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยลดต้นทุน ทั้งในด้านการประหยัดท่อนพันธุ์และการจ้างแรงงานคน รวมไปถึงได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ โดยล่าสุด สยามคูโบต้า ได้ส่งเสริมการบริหารจัดการไร่อ้อยด้วยเครื่องจักรกลการเกษตร