ศัตรูธรรมชาติของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง แมลงช้างปีกใส

ชื่อทั่วไป          :  แมลงช้างปีกใส (Green lacewing)

วงศ์ (Family)     :  Chrysopidae

อันดับ (Order)   :  Neuroptera

 เป็นแมลงห้ำที่มีบทบาทในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช โดยตัวอ่อนของแมลงช้างปีกใส เป็นตัวห้ำที่กินศัตรูพืชได้หลายชนิด เช่นเพลี้ยอ่อย เพลี้ยแป้ง ตัวอ่อนเพลี้ยหอย เพลี้ยไฟ เพลี้ยไก่แจ้ส้ม ไรแดง ไร 2 จุด และตัวอ่อนแมลงหวี่ขาว เป็นต้นทำให้แมลงช้างปีกใสเป็น เป็นตัวห้ำสำคัญที่ช่วยควบคุมแมลงศัตรูพืชในแปลงเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจในประเทศ

ตัวเต็มวัยเพศเมีย หลังจากผสมพันธุ์ 2-3 วัน ก็จะเริ่มวางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆ ระยะไข่ใช้เวลา 3-4 วัน ระยะตัวอ่อนมี 3 วัย ตัวอ่อนวัยที่ 1, 2  และ 3 ใช้เวลา 4-5 วัน 3-4 วัน และ 3-5 วัน ตามลําดับ  รวมระยะตัวอ่อน 11-13 วัน  ระยะดักแด้ 9-11 วัน ตัวเต็มวัยเพศผู้มีอายุ 14-30 วัน สําหรับเพศ เมียมีอายุ 19-58 วัน  เพศเมีย 1 ตัว สามารถวางไข่ได้ 180-345 ฟอง

วงจรชีวิตของแมลงช้างปีกใส

รูปร่างลักษณะ

ไข่ มีลักษณะเป็นทรงยาวรี ขนาดเล็ก ความยาวเฉลี่ย 0.98 มิลลิเมตร ความกว้างเฉลี่ย 0.24 มิลลิเมตร เป็นฟองเดี่ยวๆ  อยู่บนก้านสีขาวใส วางเป็นระเบียบเป็นแถวรอบใบพืช ไข่วางใหม่ๆ  มีสีเขียวอ่อน เมื่อใกล้ฟักจะเปลี่ยนเป็นสีเทาดํา เมื่อฟักแล้วจะเป็นสีขาว มีอายุประมาณ 3-4 วัน 

ตัวอ่อน  มีลักษณะลําตัวกลมแบน เห็นชัดเจนในระยะที่ 3 โดยรอบลําตัวมีปุ่มขน ปากมีกรามโค้งยาวยื่นไปด้านหน้าคล้ายเคียว ใช้ดูดกินเหยื่อ เมื่อฟักเป็นตัวอ่อนวัยที่ 1 จะเป็นตัวห้ำทันที มีการลอกคราบเปลี่ยนวัย  ตัวอ่อนทั้งหมด 3 วัย 

ตัวอ่อนวัยที่ 1  เมื่อฟักออกจากไข่ใหม่ๆ มีสีน้ำตาลอ่อน ลําตัวเรียวเล็ก ว่องไว จะไต่ลงมาทางก้านชูไข่  ความยาวลําตัวเฉลี่ย 1.56 มิลลิเมตร ความกว้างโดยเฉลี่ย 0.48 มิลลิเมตร      

ตัวอ่อนวัยที่ 2  รอบลําตัวเริ่มมีซากของเพลี้ยแป้งเกาะ ความยาวลําตัวเฉลี่ย 3.25 มิลลิเมตร ความกว้างโดยเฉลี่ย 2.32 มิลลิเมตร 

ตัวอ่อนวัยที่ 3  ขนาดลําตัวโตอย่างรวดเร็วเห็นได้ชัดกว่าระยะอื่นๆ กินอาหารเก่ง รอบลําตัวมีผงแป้งเกาะ  คล้ายเพลี้ยแป้งมาก ความยาวลําตัวเฉลี่ย 7.23 มิลลิเมตร ความกว้างโดยเฉลี่ย 3.40  มิลลิเมตร 

ดักแด้ มีรูปร่างกลม ตัวอ่อนวัย 3 จะขดตัวสร้างเส้นใยสีขาวปกคลุมลําตัว จะเข้าดักแด้ติดกับใบพืช  ความกว้างของดักแด้โดยเฉลี่ย 3.02 มิลลิเมตร ความยาวโดยเฉลี่ย 4.67 มิลลิเมตร 

ตัวเต็มวัย มีปีก 2 คู่ เป็นปีกแบบบางอ่อน (membrane) เนื้อปีกใส มีเส้นปีกจํานวนมาก ลําตัวสีเขียวอ่อน เพศผู้ มีสีลําตัวจางกว่าเล็กน้อย และตัวเล็กกว่าเพศเมีย ความกว้างลําตัวเพศเมีย เฉลี่ย 2.25 มิลลิเมตร ความยาวลําตัว โดยเฉลี่ย 10.53 มิลลิเมตร ความกว้างลําตัวเพศผู้เฉลี่ย 1.55 มิลลิเมตร ความยาวลําตัวโดยเฉลี่ย 10.01 มิลลิเมตร ตัวเต็มวัยมีกลิ่นเฉพาะตัวค่อนข้างแรง

ลักษณะของแมลงช้างปีกใส ในระยะการเจริญเติบโตต่างๆ

บทความที่เกี่ยวข้อง

หนอนชอนใบอ้อย (แมลงดำหนามอ้อย) (Sugarcane hispid beetle) ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhadinosa reticulate Baly วงศ์ : Hispidae รูปร่างลักษณะ : หนอนชอนใบอ้อย หรือ แมลงดำหนามอ้อย เป็นด้วงปีกแข็งมีขนาดเล็ก ตัวยาว 3-4 มิลลิเมตร มีสีดำ บนหลังและปีกมีหนามแข็งยาวแหลมอยู่ทั่วไป ตัวเมียวางไข่ใบเดี่ยว ๆ ไว้ใต้
การปลูกอ้อยข้ามแล้ง หรือ การปลูกอ้อยปลายฤดูกาลปลูกอ้อยแบบหนึ่งนอกฤดูฝนโดยอาศัยปริมาณน้้าฝนในช่วงปลายฤดูฝนมาสะสมอยู่ในรูปของความชื้นในดิน และอ้อยจะอาศัยความชื้นดังกล่าว มาช่วยในการงอกและการเจริญเติบโต จนกระทั่งฤดูฝนใหม่จะมาถึงหรือฝนตกหลงฤดูตกมาเติมความชื้นในดินใหม่ให้เพียงพอต่อความเจริญเติบโตของอ้อย
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล, Nilaparvata lugens (Stal) เป็นแมลงจำพวกปากดูด ตัวเต็มวัยมีลำตัวสีน้ำตาลถึงสีน้ำตาลปนดำ มีรูปร่าง 2 ลักษณะ คือ ชนิดปีกยาว และชนิดปีกสั้น