โรคขาดธาตุแมกนีเซียม (Mg)

การขาดธาตุแมกนีเซียมของอ้อย จะแสดงอาการที่ใบแก่ โดยเกิดผลแห้งตายสีแดง ทำให้มองเห็นว่าเป็นสีสนิมเกิดขึ้น การขาดแมกนีเซียมอย่างรุนแรง ลำต้นอ้อยจะมีการแคระแกร็นทำให้เกิดเป็นสีสนิมอย่างรุนแรง และมีสีน้ำตาล โดยภายในลำต้นนั้นจะกลายเป็นสีน้ำตาลได้ ซึ่งสนิมที่เกิดขึ้นสามารถแพร่กระจายไปทั่วทั้งแผ่น และอาจทำให้ใบแก่นั้นเกิดการหลุดหักร่วงก่อนอายุจริง

ลักษณะอาการโรค

อ้อยที่ขาดแมกนีเซียม จะมีจุดประ คล้ายสนิมเหล็ก ทั่วบริเวณด้านบนของใบภายในลำอ้อย  หากผ่าดูจะมีสีน้ำตาล ทำให้ใบแก่ หลุดร่วงก่อนอายุ ลำต้นอาจแคระแกร็น ลักษณะคล้ายกับอ้อยขาดแคลเซียมมาก ลำต้นเล็ก ปล้องสั้น

การป้องกันกำจัด

การขาดแมกนีเซียม มักเกิดในดินทรายและดินที่มีโพแทสเซียมสูง ซึ่งการใส่โพแทสเซียม ในอัตราสูง จะทำให้เกิดการขาดแมกนีเซียม ในขณะที่ดินที่มีแมกนีเซียมต่ำ ปุ๋ยที่ให้แมกนีเซียม ได้แก่ โดโลไมท์ แมกนีไซต์ และแมกนีเซียมซัลเฟต ซึ่งจะดีกว่าการใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมในปริมาณมาก เพราะจะทำให้อ้อยขาดแมกนีเซียมมาก ในทางกลับกันอ้อยที่ขาดแมกนีเซียมสูง (มากกว่า 0.35 – 0.6%) และมีระดับของไนโตรเจนที่สูง (3.5 – 4.0%) อ้อยอาจแสดงการขาดโพแทสเซียมถ้ามีแมกนีเซียมมากกว่า 0.6% จะเกิดแมกนีเซียมเป็นพิษ

บทความที่เกี่ยวข้อง

สำหรับคำแนะนำในการปลูกพืชแซมยาง พืชร่วมยาง และกิจกรรมเสริมรายได้ ของชาวสวนยาง เกษตรกรจะต้องพิจารณาความเหมาะสมของชนิดพืชโดยเฉพาะในประเด็นของการเจริญเติบโตในสภาพร่มเงา ตลอดจนวิธีการปลูกพืชร่วมกับยางโดยไม่ให้มีผลกระทบที่จะสร้างความเสียหายกับการเจริญเติบโตของยาง ซึ่งได้มีการศึกษาวิจัยพบว่ามีชนิดพืช
การเกิดสภาวะน้ำท่วมพื้นที่นาข้าว อาจเกิดได้ 2 กรณี คือจากฝนตกหนักน้ำไหลบ่าท่วมฉับพลัน หรือน้ำท่วมขังเป็นระยะเวลานาน ผลกระทบและความเสียหายที่เกิดขึ้น ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าว ดังนั้นหลังจากน้ำลดลงระดับปกติจึงควรมีการจัดการดินที่เหมาะกับการปลูกข้าว ซึ่งความรุนแรงของความเสียหายขึ้นกับระยะ
รำข้าว คือ ส่วนที่ได้จากการขัดข้าวกล้องให้เป็นข้าวสาร ซึ่งประกอบด้วยชั้นเยื่อหุ้มเมล็ด และคัพภะ เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งได้จากกระบวนการสีข้าว โดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ รำหยาบ (bran) ซึ่งได้จากการขัดผิวเมล็ดข้าวกล้อง และรำละเอียด(polish) ได้จากการขัดขาวและขัดมัน นอกจากนี้รำข้าวยังมีคุณค่าทางอาหารสูง