โรคเมล็ดด่าง (Dirty Panicle Disease)

พบมาก : ในนาชลประทาน ภาคกลาง ภาคตะวันตก ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคใต้สาเหตุเชื้อรา สาเหตุหลัก 6 ชนิดได้แก่  

  •  Curvularia  lunata(Wakk) Boed.
  •  Cercospora oryzaeI.Miyake.
  •  Bipolaris oryzaeBreda de Haan.
  •  Fusarium semitectumBerk & Rav.
  •  Trichoconis padwickiiGanguly. ชื่อเดิมคือAlternaria padwickii(Ganguly) M.B. Ellis
  •  Sarocladium oryzaeSawada.

เชื้อราสาเหตุ

อาการ ในระยะออกรวง พบแผลสีต่างๆ เช่นเป็นจุดสีน้ำตาลหรือดำหรือมีลายสีน้ำตาลดำหรือ  สีเทาปนชมพูที่เมล็ดบนรวงข้าว ทั้งนี้เพราะมีเชื้อราหลายชนิดที่สามารถเข้าทำลายและทำให้เกิดอาการต่างกันไป การเข้าทำลายของเชื้อรามักจะเกิดในช่วงดอกข้าวเริ่มโผล่จากกาบหุ้มรวงจนถึงระยะเมล็ดข้าวเริ่มเป็นน้ำนม และอาการเมล็ดด่าง จะปรากฏเด่นชัดในระยะใกล้เก็บเกี่ยว

อาการโรคเมล็ดด่าง

การแพร่ระบาด เชื้อราสามารถแพร่กระจายไปกับลม ติดไปกับเมล็ด และสามารถแพร่กระจายในยุ้งฉางได้ เชื้อสาเหตุบางชนิดสามารถสร้างสารพิษ (toxin) ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้

การป้องกันกำจัด

  • เมล็ดพันธุ์ที่ใช้ปลูก ควรคัดเลือกจากแปลงที่ไม่เป็นโรค
  • คลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น แมนโคเซบ ในอัตรา 3 กรัม /เมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม
  • ถ้าพบการระบาดของโรคใบจุดสีน้ำตาล และใบขีดสีน้ำตาล ในระยะต้นข้าวตั้งท้องใกล้ออกรวง ให้ฉีดพ่น  ด้วยสารป้องกัน กำจัดเชื้อรา เช่น โพรพิโคนาโซล โพรพิโคนาโซล+ไดฟีโนโคนาโซล หรือ โพรพิโคนาโซล+โพรคลอราซ หรือ ฟูซิราซอล หรือ ทีบูโคนาโซล หรือ แมนโคเซ็บ

บทความที่เกี่ยวข้อง

เป็นกระแสรุนแรง สำหรับค่าฝุ่นละอองของประเทศไทยในช่วงนี้ เราได้ยินคำว่า PM 2.5กันทุกวัน ทำให้คนไทยมีความตระหนักถึงอันตรายของฝุ่นละออง PM 2.5กันมากขึ้น ความหมายของ PM คือ Particulate Matter ฝุ่นละอองที่ลอยฟุ้งอยู่ในอากาศ เป็นฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน เทียบง่ายๆ คือมลพิษฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า
การดูดธาตุอาหารของพืช พืชได้รับคาร์บอนและออกซิเจนจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยการสังเคราะห์แสงจากใบพืชและส่วนที่มีสีเขียว ส่วนธาตุอาหารพืชในรูปของไอออนพืชได้รับเช่นกัน การดูดธาตุอาหาร พืชโดยส่วนต่างๆของพืช ได้แก่ การดูดธาตุอาหารของพืชโดยใช้ส่วนต่างๆของพืช และ การดูดซับธาตุอาหารของพืชทางราก สารอาหารสามารถ
สาเหตุ : เกิดจากเชื้อรา Cephalosporium, Fusarium และ Acremonium การระบาด 1. ทางท่อนพันธุ์ 2. เชื้อราอยู่ในดินและเศษซากจะเข้าทําลายอ้อย เมื่อปลูกพันธุ์ที่อ่อนแอ 3. โรคจะแพร่กระจายไปทางดินลม ฝน และน้ำชลประทาน ลักษณะอาการ อ้อยจะแสดงอาการใบเหลืองโทรม ต่อมาต้นจะแห้งตาย