โรคใบจุดสีน้ำตาล (Brown Spot Disease) ศัตรูสำคัญของข้าวในระยะออกรวง

 สาเหตุเชื้อรา Bipolaris oryzae ชื่อเดิม Helminthosporium oryzae (Breda de Haan.) Shoemaker, 1959 ลักษณะอาการ จะเกิดแผลที่ใบข้าว โดยพบมากในระยะแตกกอ มีลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาลรูปกลม หรือรูปไข่ ขอบนอกของใบแผลมีสีเหลือง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5 – 1 มิลลิเมตร แผลที่มีการพัฒนาเต็มที่ขนาดประมาณ 1- 2 x 4 -10 มิลลิเมตร บางครั้งพบแผลไม่เป็นวงกลมหรือรูปไข่ แต่จะเป็นรอยเปื้อนคล้ายสนิมกระจัดกระจายทั่วไปบนใบข้าว แผลยังสามารถพัฒนาเกิดบนเมล็ดข้าวเปลือกซึ่งเป็นอาการของโรคเมล็ดด่าง ได้อีกด้วย บางแผลมีขนาดเล็ก บางแผลอาจใหญ่คลุมเมล็ดข้าวเปลือก ทำให้เมล็ดข้าวเปลือกสกปรก เสื่อมคุณภาพ เมื่อนำไปสีข้าวสารจะหักง่า

การแพร่ระบาด

เกิดจากสปอร์ของเชื้อราปลิวไปตามลม และติดไปกับเมล็ด การปลูกข้าวแบบต่อเนื่อง ที่ไม่พักดินและขาดการปรับปรุงบำรุงดิน จะเพิ่มโอกาสในการการระบาดของโรคอาการใบจุดสีน้ำตาล

การป้องกันกำจัด

  • ใช้พันธุ์ต้านทานที่เหมาะสมกับสภาพท้องที่ และโดยเฉพาะพันธุ์ที่มีคุณสมบัติต้านทานโรคใบสีส้ม เช่น ภาคกลางใช้พันธุ์ปทุมธานี 1ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้พันธุ์เหนียวสันป่าตอง และหางยี 71
  • ปรับปรุงดินโดยการไถกลบฟาง หรือเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ดินโดยการปลูกพืชปุ๋ยสด หรือปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อช่วยลดความรุนแรงของโรค
  • คลุกเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูกด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น แมนโคเซ็บ หรือ คาร์เบนดาซิม + แมนโคเซ็บ ในอัตรา 3 กรัม ต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม
  • ใส่ปุ๋ยโปแตสเซียมคลอไรด์ (0-0-60) อัตรา 5-10 กิโลกรัม / ไร่ ช่วยลดความรุนแรงของโรค
  • กำจัดวัชพืชในนา ดูแลแปลงให้สะอาด และใส่ปุ๋ยในอัตราที่เหมาะสม

หากพบอาการของโรคใบจุดสีน้ำตาล 10 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ใบในระยะข้าวแตกกอ หรือในระยะที่ต้นข้าวตั้งท้องใกล้ออกรวง หรืออาการเกิดที่ใบธงในสภาพฝนตกต่อเนื่อง จะทำให้เกิดโรคเมล็ดด่าง ควรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น คาร์เบนดาซิม แมนโคเซ็บ โพรพิโคนาโซล ทีบูโคโนโซล ครีโซซิม-เมทิล หรือ คาร์เบนดาซิม + แมนโคเซบ

บทความที่เกี่ยวข้อง

กลุ่มชุดดินที่ 35 การกำเนิด : เกิดจากการผุพังสลายตัวอยู่กับที่ และ เคลื่อนย้ายมาเป็นระยะทางไม่ไกลนักของหินแกรนิตบริเวณลานตะพัก เชิงเขา เนินเขา หรือพื้นที่ที่เหลือค้างจากการกัดกร่อน สภาพพื้นที่ : ค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนชัน มีความลาดชัน 2-12 % การระบายน้ำ : ดี การซึมผ่านได้ของน้ำ : เร็ว
คณะกรรมการวัตถุอันตราย เห็นชอบ 6 มาตรการ จำกัดการใช้ ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 5 ฉบับ ผู้เกี่ยวข้องมีดังนี้ เกษตรกรผู้ใช้ ผู้รับจ้างพ่น ผู้ขาย ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้นำเข้า/ผู้ผลิต กำหนดพืชที่อนุญาตให้ใช้ 3 สาร กำหนดข้อความในฉลาก แผนปฎิบัติการอบรม ตัวอย่างฉลากวัตถุอันตราย
การใส่ปุ๋ยไนโตรเจน (N) เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการปลูกข้าวให้ได้คุณภาพดีและมีผลผลิตที่สม่ำเสมอ แต่ในดินที่มีการปลูกพืชมักจะขาดแคลนธาตุไนโตรเจน ทำให้เกษตรกรต้องใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในการทำนาทุกครั้ง ซึ่งในการใส่ปุ๋ย หากใส่มากเกินไป อาจทำให้ข้าวเกิดโรคและหักล้มง่าย หากใส่น้อยเกินไป อาจทำให้ได้ผลผลิตต่